“Turn Around SHE Management”
เผยแพร่เมื่อ: 16/04/2563....,
เขียนโดย นายอนันต์ สุขแท้, ผู้จัดการส่วนความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม
กลุ่มธุรกิจสาธารณูปการและคลังเก็บผลิตภัณฑ์ บริษัทพีทีที โกลบอลเคมิคอล จำกัด (มหาชน)...,
ในโรงกลั่นน้ำมัน โรงแยกก๊าซธรรมชาติ โรงงานปิโตรเคมี การซ่อมบำรุงรักษาใหญ่ (Turn Around: TA) เครื่องมือ เครื่องจักรอุปกรณ์ นับเป็นภาระกิจหลักในการที่จะทำให้โรงงานสามารถเดินเครื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย เสมือนกับรถยนต์ที่เราขับใช้งานทุกวัน เมื่อถึงระยะเวลาหรือระยะทางตามคำแนะนำของผู้ผลิต ก็ต้องนำเข้าศูนย์บริการเพื่อซ่อมบำรุงรักษา ซึ่งในโรงงานปิโตรเลียม ปิโตรเคมีเหล่านี้ก้อเช่นเดียวกันเมื่อถึงระยะเวลาที่กำหนดก็ต้องหยุดเพื่อมาซ่อม ปรับ เปลี่ยน ต่อเติม ทำความสะอาดเครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์เหล่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นงานที่มีความเสี่ยงสูง เช่น การทำความสะอาดโดยใช้เครื่อง High Pressure Water Jet, งานเปลี่ยน Catalyst ในถังทำปฏิกิริยา งานซ่อม Tray ในหอกลั่น งาน Hot Work ต่างๆ เป็นต้น
ซึ่งระยะเวลา จำนวนของงานที่ทำขึ้นอยู่กับขนาดและกิจกรรมที่จะทำในการซ่อมบำรุงใหญ่ในครั้งนั้นๆ บางโรงงานเช่นโรงกลั่นน้ำมัน โรงปิโตรเคมี อาจจะใช้กำลังคนถึง 3,000 – 4,000 คนจำเป็นที่จะต้องมีการวางแผนระบบการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมที่ดี จึงจะสามารถทำให้งานการซ่อมบำรุงรักษาใหญ่ (Turn Around : TA) บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม งานมีคุณภาพ ตามงบประมาณและเริ่มเดินเครื่องจักรใหม่ (Startup) ได้ตามระยะเวลาที่ได้วางแผนเอาไว้
ในฐานะที่ผู้เขียนเคยรับผิดชอบและผ่านงานซ่อมบำรุงรักษาใหญ่ (Turn Around) มาแล้วหลายครั้งทั้งในโรงกลั่นน้ำมัน โรงแยกก๊าซธรรมชาติ และโรงงานปิโตรเคมี วันนี้ขอออนุญาตแชร์การบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม ในงานซ่อมบำรุงใหญ่ (Turn Around SHE Management) ให้กับทุกท่าน เพื่อให้ทุกท่านลองนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน หวังว่าคงจะมีประโยชน์กับทุกท่านไม่มากก้อน้อยนะครับ การบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม ในงานซ่อมบำรุงใหญ่ (Turn Around SHE Management) มีขั้นตอนที่สำคัญ ดังนี้
- การวางแผน กำหนดหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย: จะต้องมีโครงสร้างการจัดการ TA กำหนดเป้าหมายงาน TA จะต้องบรรจุตัวชี้วัดด้าน SHEเช่นRecordable Injury Rate, Loss of Primary Containment (LOPC), Environmental Compliant เข้าไปด้วยเพื่อทีม TA ทุกคนได้ตระหนักและดำเนินการให้ได้ตามเป้าหมายที่ได้วางเอาไว้
- การคัดเลือกผู้รับเหมา: จำเป็นที่จะต้องคัดเลือกผู้รับเหมาที่มีความรู้ ทักษะ ความชำนาญในงานนั้นๆ เข้าทำงาน (Approve Vendor List) มีประสบการณ์ตรงในงานนั้นๆ มีความน่าเชื่อถือ
- การสร้างภาวะผู้นำและพันธะสัญญาด้านความปลอดภัยสำหรับผู้บริหารผู้รับเหมา : เมื่อเราได้ผู้รับเหมาเข้ามาทำงานแล้ว จำเป็นที่จะต้องให้มีการสื่อสารและสร้างพันธะสัญญาด้านความปลอดภัยร่วมกัน
- การวางแผนขั้นตอนการทำงานและแผนควบคุมความเสี่ยง : ในงานที่จะทำแต่ละงานจะต้องมีการทำ Job Method Statement รวมทั้งการประเมินอันตรายและหามาตรการในการควบคุมอันตรายในแต่ละขั้นตอนของทุกงาน ซึ่งเป็นหน้าที่ของหัวหน้างานแต่ละงาน ร่วมกับผู้รับเหมาทำร่วมกัน
- การฝึกอบรมด้านความปลอดภัยและการประเมิณทักษะการทำงาน : ผู้รับเหมาทุกคนจะต้องผ่านการปฐมนิเทศในด้านความปลอดภัยเพื่อให้ทราบกฎระเบียบด้านความปลอดภัย และให้ยึดถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
- การเตรียมความพร้อมของสำนักงานและเครื่องอำนวยความสะดวก : จะต้องจัดเตรียมสำนักงาน ห้องประชุมเวทีใหญ่ Safety Talk รวม โรงอาหาร จุดล้างมือ ห้องน้ำ ที่จอดรถ ที่พักผ่อน ที่สูบบุหรี่ ไว้อำนวยความสะดวกสำหรับคนงงาน
- การสื่อสารด้านความปลอดภัยและเตรียมความพร้อมก่อนเริ่มงาน : ก่อนเริ่มงานในแต่ละวันควรจะต้องมีการทำ Safety Talk รวมเพื่อสื่อสารและสร้างความตระหนักให้กับพนักงาน ผู้รับเหมาทุกคน รวมถึงก่อนเริ่มงานหลังจากทางหัวหน้างานรับใบอนุญาตไปก่อนเริ่มงานจะต้องทำ Pre-Task Meeting กับลูกทีมก่อนทุกครั้ง
- การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม : จะต้องกำหนดแผนการจัดการด้านสิงแวดล้อมงาน TA ตั้งแต่ช่วงก่อนกิจกกรม TA เช่น สื่อสารผลกระทบและทำความเข้าใจกับชุมชน โรงงานค้างเคียง ต่างๆ เป็นต้น การตรวจวัดด้านสิ่งแวดล้อมก่อนมีกิจกรรม ระหว่างมีกิจจกรม และหลังมีกิจกรรม TA การเตรียมพื้นที่จัดเก็บ Waste การขออนุญาตขนส่ง กำจัด waste ที่เกิดขึ้น รวมทั้งมีการสื่อสารเรื่องการจัดการ waste ให้กับพนักงาน ผู้รับเหมางาน TA ทุกคน
- การให้บริการทางด้านงานแพทย์และพยาบาล : จะต้องมีการเตรียมทีมแพทย์ พยาบาลและอุปกรณ์ให้พร้อม เช่น เวชภัณฑ์ แผนกำลังคน แผนช่วยเหลือคนเจ็บ แผนการคัดกรอง เช่น health check up ก่อนและหลังงาน TA การตรวจแอลกอฮอร์ การตรวจสารเสพติด สุขภาภิบาลอาหารและเครื่องดื่ม การเฝ้าระวังโรคพวกไข้หวัด อาการท้องเสีย รวมถึงแผนการจัดการทางการแพทย์ถ้ามีโรคติดต่อหรือการเจ็บป่วยเกิดขึ้นระหว่างมีกิจกรรม TA ด้วย
- งานรักษาความปลอดภัยและตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน : มาตรการการควบคุมการเข้า-ออกการควบคุมดูแลวัสดุสิ่งของ เครื่องมือ เครื่องจักร เข้า-ออกโรงงานการตรวจตราพื้นที่ตามมาตรการรักษาความปลอดภัย การวางแผนควบคุมเหตุฉุกเฉินระหว่างงาน TA แผนอพยพ แผนการช่วยเหลือ แผนการขนย้ายผู้ป่วย หรืองานเสี่ยงต่างๆ ที่จำเป็นที่จะต้องมี Rescue Team เช่น การในที่อับอากาศ ซึ่งจำเป็นที่จะต้องมีการซ้อมให้ครอบคุลมทุกกิจกรรมของการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน
- การตรวจสอบความปลอดภัยประจำวัน : จะต้องการกำหนดให้มีการเดินตรวจความปลอดภัยประจำวัน ซึ่งควรจะกำหนดให้ระดับผู้บริหาร หัวหน้างาน เจ้าของพื้นที่ ผู้รับเหมาทุกบริษัท จะต้องมีการตรวจสอบความปลอดภัยประจำวัน และจะต้องรายงานให้กับที่ประชุมงาน TA ประจำวันทราบ เพื่อจะได้ป้องกันแก้ไขความไม่ปลอดภัยต่างๆ ได้อย่างทันท่วงที
- การประชุมงาน TA ประจำวัน : เป็นกิจกรรมปกติที่งาน TA จะต้องมีการประชุมติดตาม Progress กันในทุกๆ วัน ซึ่งงานด้านการจัดการด้านความปลอดภัยฯ จะต้องไปรายงานในที่ประชุมด้วย ถือเป็น agenda หลักในที่ประชุม TA Team Daily Meeting
- งานสอบสวนอุบัติเหตุ อุบัติการณ์ : ในกิจกรรม TA มีความไม่ปลอดภัยรวมทั้ง Incident Near-miss บ่อย หน้างานมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพราะฉะนั้นถ้ามี Incident เกิดขึ้นจะต้องมีความรวดเร็วในการรายงาน สอบสวน แก้ไขป้องกันและขยายผลไปในทุกๆ งานที่เกี่ยวข้อง จำเป็นที่จะต้องมีการวางแผนกำลังคน บทบาทหน้าที่ ไว้ให้พร้อม
- งานส่งเสริมด้านความปลอดภัย : จะต้องมีการวางแผนกิจกรรม งบประมาณ เอาไว้เพื่อจัดกิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัย เพื่อสร้างความตระหนักให้กับพนักงาน ผู้รับเหมา รวมทั้งเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้กับพวกเขาด้วย
- การทบทวนด้านความปลอดภัยก่อนเริ่มการผลิต : ในกิจกรรม TA มีการซ่อมแซม อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องจักร เพราะฉะนั้นเมื่อซ่อมหรือเปลี่ยนหรือแก้ไขเรียบร้อยแล้ว จะต้องมีการตรวจสอบความพร้อมก่อนที่จะเริ่มเดินเครื่องใหม่ (Start Up) จะต้องมีทีมงานตามทักษะความชำนาญในแต่ละด้าน (Discipline) มาตรวจสอบความพร้อมก่อนเริ่มเดินเครื่องใหม่ให้เกิดความปลอดภัย
- การประเมินผลและการชมเชยการปฏิบัติงานผู้รับเหมา : หลังจากงาน TA เสร็จสิ้นลงจะต้องมีการประเมิณผลการปฏิบัติงานของผู้รับเหมาแต่ละบริษัท โดยรวบรวมข้อมูลในทุกๆ ด้านเพื่อมาประเมิณผล เพื่อเป็นข้อมูลในการจัดซื้อจัดจ้างในครั้งต่อๆ ไป รวมถึงการให้รางวัลชมเชยกรณีที่มีผลงานดีด้วย
- การสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากกงาน TA : จะต้องมีการทำ TA Lesson Learn ในแต่ละงาน เพื่อจะได้มีการป้องกันแก้ไข เรียนรู้ในการทำให้งาน TA ครั้งต่อไปมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น