สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
Tags: hse morning talk resources initiative, มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
HSE Morning Talk by OCC WU
เขียนโดย คุณธีรภัทร ศิรเสถียร
ตำแหน่ง เจ้าหนาที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ
บริษัท บริษัท เอ็กซ์เธอร์แอน (ประเทศไทย) จำกัด
บริษัท บริษัท เอ็กซ์เธอร์แอน (ประเทศไทย) จำกัด
เขียนโดย คุณยัสมิน สาหลำยาตี
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ
บริษัท เฟรย์สซีเนท (ไทยแลนด์) จำกัด
บริษัท เฟรย์สซีเนท (ไทยแลนด์) จำกัด
จากการตรวจสอบการทำงานของพวกเราทุกคน พบว่าเมื่อมีทำงานบนที่สูง ไม่ว่าจะเป็นบนกระเช้า
หรือบนก้อนSegment ส่วนมากพนักงานทุกคนสวมใส่ชุดเข้มขัดนิรภัย แต่จะไม่มีการคล้องเกี่ยวตะขอเข็มขัดนิรภัยไว้กับจุดยึดที่แข็งแรง ซึ่งตามที่เราได้คุยกันไว้ดังต่อไปนี้
เขียนโดย คุณอนุสรณ์ พินธุ
ตำแหน่ง ผู้จัดการฝ่ายความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม
บริษัท ข้าว ซี.พี. จำกัด
บริษัท ข้าว ซี.พี. จำกัด
ปัจจุบันมีแนวโน้มจำนวนผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 เพิ่มมากขึ้น และพบการแพร่ระบาดเป็นกลุ่มหรือคลัสเตอร์ (Cluster) ในโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งมีพนักงานทำงานเป็นจำนวนมาก ด้วยความห่วงใยต่อสุขภาพอนามัยของพนักงาน คณะกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 กลุ่มโรงงาน สายธุรกิจข้าว ได้ประเมินสถานการณ์ พร้อมทั้งยกระดับมาตรการจากเดิมที่มีอยู่ให้เข้มข้นมากยิ่งขึ้น
เขียนโดย ว่าที่ ร.ต.หญิงชลดา ถิ่นมะนาว
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ
บริษัท โลจิสติกส์ เอเชีย จำกัด
บริษัท โลจิสติกส์ เอเชีย จำกัด
พนักงานขับรถบรรทุกขนส่งสินค้าทุกคน ใน 1 วัน (24 ชั่วโมง) ขับรถได้ไม่เกิน 8 ชั่วโมง และทำ OT ได้ไม่เกิน 2 ชั่วโมง รวมกัน 1 วัน สามารถขับรถได้ ไม่เกิน 10 ชั่วโมง และเมื่อต้องขับรถต่อเนื่องกัน ไม่เกิน 4 ชั่วโมง ต้องมีการหยุดพักอย่างน้อย 30 นาที จึงจะสามารถขับรถต่อได้อีก 4 ชั่วโมง (การหยุดพักที่ไม่ถึง 30 นาทีไม่ถือว่าเป็นการหยุดพัก)
พื้นที่ในการจอดพักรถนั้น ต้องเป็นจุดจอดที่ปลอดภัย หลีกเลี่ยงการจอดไหล่ทาง ที่ไม่ได้จัดไว้ให้จอดพักรถ และเพื่อความปลอดภัยต้องแสดงสัญลักษณ์การจอดให้เพื่อนร่วมทางมองเห็นได้ชัดเจน เช่น การวางกรวยยางสะท้อนแสง , ป้ายสามเหลี่ยมสะท้อนแสง เป็นต้น
เขียนโดย คุณอดุลรอพา เจ๊ะกา
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ
บริษัท รับเบอร์แลนด์โปรดักส์ จำกัด
บริษัท รับเบอร์แลนด์โปรดักส์ จำกัด
เหตุฉุกเฉิน (Emergency) คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทันทีทันใด โดยไม่ได้มีการคาดคิดมาล่วงหน้า โดยเหตุฉุกเฉิน ไม่มีใครรู้ล่วงหน้าว่าอุบัติภัยต่างๆ จะเกิดขึ้นเมื่อใด บางครั้งอุบัติภัยหนึ่งๆ ก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและสร้างความเสียหายอย่างรุนแรงโดยที่ไม่มีการแจ้ง เตือนล่วงหน้าใดๆ หรือมีสิ่งบ่งชี้ล่วงหน้าให้ทราบเพียงเล็กน้อย
น้ำยาง (latex) คือวัสดุพอลิเมอร์ที่มีต้นกำเนิดจากของเหลวของพืชบางชนิด ซึ่งมีลักษณะเป็นของเหลวสีขาว คล้ายน้ำนม มีสมบัติเป็นคอลลอยด์ อนุภาคเล็ก มีตัวกลางเป็นน้ำ น้ำยางเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตสินค้าอื่นๆ เช่น ถุงมือยาง ถุงยางอนามัย จุกนมยาง ยางยืด และ กาว เป็นต้น
เขียนโดย คุณชุติพนธ์ อุปการ
ตำแหน่ง ผู้จัดการฝ่ายความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด(มหาชน) โรงงานผลิตอาหารกุ้งบ้านพรุ
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด(มหาชน) โรงงานผลิตอาหารกุ้งบ้านพรุ
“การสร้างพฤติกรรมความปลอดภัย นำไปสู่การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยขององค์กร ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ และไม่เป็นโรคจากการทำงาน”
จากการศึกษาของบริษัท ConocoPhillips Marine ในปี ค.ศ. 2003 โดยทําการศึกษาสัดส่วนของการเกิดอุบัติเหตุประเภทต่างๆ รวมถึงขยายขอบเขตไปยังเหตุการณ์ที่เกือบจะเกิดอุบัติเหตุ (near miss) ผลการศึกษา พบว่า ในอุบัติเหตุที่มีการบาดเจ็บรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต 1 ครั้งเกิดจากพฤติกรรมที่มีความเสี่ยง risk behavior จํานวนมากถึง 30,000 ครั้ง ดังภาพที่ 1 ซึ่งพฤติกรรมเสี่ยงนั้น ได้แก่ การ bypass ระบบความปลอดภัยของเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ หรือทํางานโดยละทิ้งขั้นตอนการทํางานที่ปลอดภัยเพื่อให้ทํางานได้รวดเร็วขึ้น ดังนั้น ถ้าสามารถลดพฤติกรรมเสี่ยง จะทําให้โอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุลดลงตามไปด้วย
เขียนโดย คุณชนิตา พ่วงแดง
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับวิชาชีพ
บริษัท สมบูรณ์ แอ๊ดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน)
บริษัท สมบูรณ์ แอ๊ดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน)
ในขณะที่อุปกรณ์ Loader กำลังจับชิ้นงานป้อนเข้าเครื่องจักร เกิดการ Alarm ขึ้น ทางพนักงานจึงเข้าไปตรวจสอบปัญหาดังกล่าวจากจอ Monitor พบว่าเกิดจากตำแหน่งการวางงานเข้าเครื่องจักรผิดปกติ พนักงานจึงแจ้งหัวหน้างานให้รับทราบ หัวหน้างานเข้ามาตรวจสอบปัญหาดังกล่าว และทำการเปลี่ยนระบบการทำงานของเครื่องจักรจากระบบ Auto เป็นระบบ Manual และรอให้อุปกรณ์ Loader ป้อนชิ้นงานเข้าเครื่องจักรตามคำสั่งที่ค้างอยู่จากระบบ Auto จนเสร็จ
เขียนโดย คุณอังสุมา สมคุณ
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับวิชาชีพ
บริษัท ไทยทาเคนาคา สากลก่อสร้าง จำกัด
บริษัท ไทยทาเคนาคา สากลก่อสร้าง จำกัด
ในขณะมีการทำงานเพื่อแต่งผิวปูน โดยการใช้นั่งร้านชนิดมีล้อ เพราะต้องมีการเคลื่อนที่เพื่อทำงานตลอดทั้งพื้นที่ ผู้ปฏิบัติงานจึงประกอบนั่งร้านขึ้นมาโดยมีการติดตั้งไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด ใช้ชิ้นส่วนนั่งร้านไม่ได้ขนาด และติดตั้งพื้นยื่นเพื่อทำงาน ทำให้นั่งร้านไม่มีความสมดุล ประกอบกับเมื่อติดตั้งเสร็จไม่มีการตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่และไม่มีป้ายเตือน และขณะปฏิบัติงานผู้ปฏิบัติงานไม่ลงจากนั่งร้าน โดยใช้ให้เพื่อนเข็นนั่งร้านไปอีกจุด ทำให้นั่งร้านอาจล้ม และอาจได้รับบาดเจ็บได้ ซึ่งผู้ปฏิบัติงานเร่งรีบที่จะทำงานบริเวณนี้ให้เสร็จตามเวลาที่กำหนด จึงไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
เขียนโดย คุณวรรณชัย ช่วยศรี
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับวิชาชีพ, บริษัท แอลพีเอส บิซิเนส กรุ๊ป จํากัด
ประจำบริษัท บีเอ็มดับเบิ้ลยู แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด
ประจำบริษัท บีเอ็มดับเบิ้ลยู แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด
สืบเนื่องจากบริษัทมีเครื่องจักรที่สำคัญต่อการดำเนินการประกอบรถยนต์ โดยหลักๆ คือ รถยก หรือ Forklift ซึ่งจากสถิติอุบัติเหตุของบริษัทย้อนหลัง 8 ปี ที่ผ่านมา พบว่า อันดับ 1 คือ เกิดจากรถยก หรือ Forklift โดยส่วนใหญ่เป็นอุบัติเหตุประเภทที่ก่อให้ทรัพย์สินเสียหาย และจากผลการประเมินความเสี่ยงจากการทำงาน พบว่า การทำงานด้วยรถยกมีความเสี่ยงอยู่ในเกณฑ์ระดับสูง ดังนั้น จึงเป็นที่มาของการจัดทำกิจกรรมด้านความปลอดภัยกับพนักงานขับรถยก
เขียนโดย ว่าที่ ร.ต.หญิงอารียา หมัดสุสัน
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับวิชาชีพ
บริษัท เอฟจี เทค เซอร์วิสเซส จำกัด
บริษัท เอฟจี เทค เซอร์วิสเซส จำกัด
ล้างทำความสะอาดด้วยเครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง เป็นงานเฉพาะด้านที่ผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้ความชำนาญและต้องผ่านการทดสอบความรู้ความสามารถ (Skill Assessment) เนื่องจากเป็นอีกหนึ่งประเภทงานที่มีอันตราย มีความเสี่ยงในการได้รับบบาดเจ็บตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงขั้นเสียชีวิต เช่น การสัมผัสกับน้ำแรงดันสูงที่ฉีดออกมาจากเครื่องตัดด้วยน้ำ (water jet), สายฉีดที่มีแรงดันอยู่ภายในอาจสะบัดโดยผู้ปฏิบัติงานได้, สัมผัสสารเคมี, ความร้อน, ความเย็น และเสียงดัง เป็นต้น