คณะสาธารณสุขศาสตร์ และสมาคมศิษย์เก่าอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มหาวิทยาลัยมหิดล
Tags: hse morning talk resources initiative, มหาวิทยาลัยมหิดล, สมาคมศิษย์เก่าอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มหาวิทยาลัยมหิดล
คณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล
สมาคมศิษย์เก่าอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มหาวิทยาลัยมหิดล
เขียนโดย ดร.เด่นศักดิ์ ยกยอน
ตำแหน่ง อาจารย์ภาควิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
หน่วยงาน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
หน่วยงาน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ภาพอาสาดับเพลิง โรงงานหมิงตี้ เคมีคอล กิ่งแก้ว ไฟไหม้ ที่แค่เพียงสวมหน้ากากอนามัย หรือบางคนใช้ผ้าปิดจมูกเท่านั้นเพื่อเลี่ยงการสูดดมกลิ่นควันไฟ บางคนเท่านั้นที่มี N95 และน้อยคนมากที่จะมีหน้ากากป้องกันก๊าซพิษ ขณะเดียวกันก็มีภาพที่ทหารลงพื้นที่โดยมีหน้ากากป้องกันก๊าซพิษ จนทำให้เกิดเสียงวิจารณ์ตามมาจำนวนมากนี่คือภาพที่แสดงให้เห็นความไม่พร้อมของ PPE ที่มีให้อาสาสมัครเหล่านี้ เนื่องสารเคมี ‘สไตรีนโมโนเมอร์’ ซึ่งเป็นสารอันตรายต่อร่างกายและเป็นสารก่อมะเร็งที่พวกเขากำลังเผชิญอยู่นั้นอย่างน้อยต้องใช้หน้ากากชนิด Full-facepiece respirator (gas mask)
เขียนโดย ดร.สุเมธ เพ้งภูมิเกียรติ
2) ทางการหายใจไอระเหย ซึ่งตัวทำละลายส่วนใหญ่จะเป็นสารอินทรีย์ที่ระเหยได้ง่าย มีความดันไอสูง
3) ทางการกิน ซึ่งอาจจะเกิดจากการหยิบจับอาหารในขณะที่มือมีการปนเปื้อนสารเคมีเหล่านี้อยู่
ตำแหน่ง อาจารย์ภาควิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
หน่วยงาน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
สารเคมีที่ใช้เป็นตัวทำละลายในโรงงานอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่จะถูกใช้ร่วมกับสี น้ำยาเคลือบเงา กาว ทินเนอร์ หรือใช้เป็นสารซักล้างทำความสะอาดต่างๆ ซึ่งช่องทางการรับสัมผัสสารตัวทำละลายนั้นได้แก่
1) ทางการดูดซึมทางผิวหนัง เมื่อมีการใช้หรือสัมผัสโดยตรง ในระหว่างการใช้สารเคมีทำความสะอาดต่างๆ2) ทางการหายใจไอระเหย ซึ่งตัวทำละลายส่วนใหญ่จะเป็นสารอินทรีย์ที่ระเหยได้ง่าย มีความดันไอสูง
3) ทางการกิน ซึ่งอาจจะเกิดจากการหยิบจับอาหารในขณะที่มือมีการปนเปื้อนสารเคมีเหล่านี้อยู่
เขียนโดย รองศาสตราจารย์ ดร. สรา อาภรณ์
ตำแหน่ง อาจารย์ภาควิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
หน่วยงาน ภาควิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
หน่วยงาน ภาควิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
COVID 19 ทำให้วิถีการดำเนินชีวิตของผู้คนเปลี่ยนแปลงไป เกิดความคุ้นเคยกับการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลมากขึ้น ระมัดระวังต่อสุขภาพของตนเอง ใส่ใจกับคำว่า อันตรายและความเสี่ยง มากขึ้น ในงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยนั้น ผู้คนในวงการนี้เข้าใจเรื่องสุขภาพของแรงงาน พร้อมกับตีความในการดูแล การนำใช้กลไกต่างๆ การให้ความรู้เรื่องอันตรายและความเสี่ยง การดำเนินการจัดสภาพแวดล้อมการทำงานให้เกิดความปลอดภัย รวมถึงการตรวจสุขภาพร่างกายของแรงงาน ซึ่งคาดว่าจะเป็นกลไกในการเฝ้าระวังสุขภาพของแรงงานจากสิ่งแวดล้อมในการทำงาน
เขียนโดย ดร.เด่นศักดิ์ ยกยอน
ตำแหน่ง อาจารย์ภาควิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
หน่วยงาน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
หน่วยงาน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ภาพท่อบรรจุก๊าซออกซิเจนทางการแพทย์ (Oxygen cylinder) กำลังขาดตลาดเนื่องจากมีคนแห่ไปซื้อมากักตุนเห็นได้ชัดในประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย และกำลังจะเกิดขึ้นในประเทศไทย ราคาท่อออกซิเจนที่กรุงจาการ์ตา ปรับราคาสูงขึ้นหลายเท่า และสินค้าเริ่มขาดแคลน หลังประเทศเผชิญกับการระบาดของโควิด-19 ที่รุนแรง ยอดผู้ติดเชื้อที่สูงขึ้น ทำให้โรงพยาบาลมีการปฏิเสธการเข้ารับการรักษาของผู้ติดเชื้อ และได้ทำให้ต้องไปหาซื้อถังออกซิเจนจากร้านค้าและโรงอัดบรรจุก๊าซโดยตรง ซึ่งความต้องการที่สูงขึ้นได้ทำให้ราคาพุ่งสูงขึ้นกว่าปกติมาก ขณะเดียวกัน บางโรงพยาบาลเริ่มขาดแคลนถังออกซิเจน
เขียนโดย คุณชัชชัย ธนโชคสว่าง
ตำแหน่ง ผู้ช่วยอาจารย์ ภาควิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
หน่วยงาน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ตำแหน่ง ผู้ช่วยอาจารย์ ภาควิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
หน่วยงาน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
การเชื่อมเป็นขั้นตอนสำคัญในกระบวนการประกอบชิ้นส่วนหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ เซมิคอนดักเตอร์ การก่อสร้าง และอุตสาหกรรรมเหล็ก ซึ่งการเชื่อมเป็นกระบวนการเชื่อมต่อวัสดุโลหะสองชนิดเข้าด้วยกันโดยใช้อุณหภูมิที่สูงมากในการหลอมรวมกันแล้วปล่อยให้เย็นและรวมกันเป็นชิ้นเดียว โดยที่กระบวนการเหล่านี้ผู้ปฏิบัติงานต้องเผชิญกับอันตรายหลายอย่าง เช่น ความร้อนสูง ไฟฟ้าช็อต แสงยูวี และการสูดดมก๊าซและ ฟูมจากการเชื่อม
เขียนโดย อาจารย์ ดร.ปาจรีย์ กุณฑลบุตร
ตำแหน่ง อาจารย์ประจำภาควิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
หน่วยงาน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
หน่วยงาน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ในช่วงการระบาดของโควิด-19 บุคลากรทางการแพทย์มีความจำเป็นในการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัส แต่เนื่องด้วยชุด PPE มีลักษณะมีการห่อหุ้มทั้งตัวนั้นมีน้ำหนักที่มาก มีการเคลื่อนไหวที่จำกัด และการขัดขวางการถ่ายเทความร้อนออกจากร่างกาย เมื่อบุคลากรสวมใส่ชุด PPE เป็นระยะเวลานาน ประกอบด้วยกับภาระงานที่หนัก และอุณหภูมิอากาศที่ร้อน จะทำให้เกิดความร้อนสะสมในร่างกาย ถ้าร่างกายไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิแกนกลางได้ให้อยู่ในภาวะปกติ ประมาณ 37 องศาเซลเซียส อาจนำไปสู่ความรู้สึกไม่สบายกาย หรือเจ็บป่วย เช่น เหนื่อยล้า ตะคริว Heat stroke หรือแม้แต่เสียชีวิตได้
เขียนโดย ดร.สายศรัทธา นุ่มนวล
ตำแหน่ง อาจารย์ประจำภาควิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
หน่วยงาน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
หน่วยงาน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
คุณภาพอากาศในอาคารเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลกับสุขภาพของเราทุกคน การเจ็บป่วยจากอาคาร (Sick Building Syndrome) และ การเจ็บป่วยที่เกี่ยวเนื่องกับอาคาร (Building Related Illness) ถือเป็นภัยใกล้ตัวที่เราอาจละเลยไป กลุ่มอาการของโรคที่พบ เช่น การระคายเคืองตา ผิวหนัง ระบบทางเดินหายใจ อาจมีการเวียนศีรษะ เมื่อยล้า อ่อนเพลียร่วมด้วย หรืออาจรุนแรงไปถึงโรคลีจีแนร์