ภาควิชาสุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
Tags: hse morning talk resources initiative, มหาวิทยาลัยบูรพา, ภาควิชาสุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัย, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
เขียนโดย คุณธนพงศ์ สรรพรัตน์
ตำแหน่ง Safety Officer,
Toyo Seikan (Thailand) co. ltd
Toyo Seikan (Thailand) co. ltd
มีดตัดขวด ถือเป็นอุปกรณ์ชิ้นสำคัญสำหรับการทำงานในแผนก Blow ซึ่งในขั้นตอนการทำงาน เราจะต้องใช้มีดในการตัดแต่งขวดพลาสติกที่เป่าออกมาให้มีรูปทรงตามที่กำหนดไว้ ซึ่งมีดตัดขวดที่ใช้ในการทำงาน จะต้องใช้ใบมีดที่คมมาก เพื่อให้สามารถตัดขวดได้ง่ายและแม่นยำ ซึ่งการปฏิบัติงานเพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น
แต่การใช้อุปกรณ์ป้องกันเพียงอย่างเดียว อาจจะไม่เพียงพอที่จะทำให้พนักงาน ของเราสามารถทำงานได้อย่างปลอดภัย ทางบริษัทจึงได้ออกกฎระเบียบสำหรับงานตัดแต่งขวด เช่น พนักงานใหม่ที่ทำงานวันแรกจะต้องตัดขวดประเภทที่ตัดง่ายที่สุด เพื่อเป็นการฝึกใช้งานมีดให้คล่อง และจะต้องมีพนักงานพี่เลี้ยงคอยสอนเป็นระยะเวลาหนึ่ง, ห้ามพกมีดติดกับตัว หากเลิกใช้งานจะต้องสวมปลอกมีด และใส่ในกระป๋องที่จัดเตรียมไว้ให้เท่านั้น เพื่อป้องกันไม่ให้พนักงานเผลอนำมีดไปใส่ในกระเป๋ากางเกง ซึ่งอาจส่งผลทำให้เกิดการบาดเจ็บ เป็นต้น
เขียนโดย คุณอมรรัตน์ โตมา
ตำแหน่ง Safety officer
บริษัท NGK SPARK PLUGS (ASIA) CO., LTD
ตำแหน่ง Safety officer
บริษัท NGK SPARK PLUGS (ASIA) CO., LTD
เขียนโดย คุณอภิวัฒน์ ยังวิลัย
ตำแหน่ง นักปฏิบัติงานเทคนิค (จป.วิชาชีพ)
หน่วยงาน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมาบตาพุด
ตำแหน่ง นักปฏิบัติงานเทคนิค (จป.วิชาชีพ)
หน่วยงาน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมาบตาพุด
กระแสไฟฟ้าถือว่าเป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินชีวิตของทุกคน แต่ก็แฝงไปด้วยอันตรายถ้าหากเกิดการนำไปใช้งานอย่างผิดวิธี เช่น การต่อเครื่องใช้ไฟฟ้ากับกระแสไฟฟ้าโดยตรงจากสายไฟเส้นหลัก หรืออุปกรณ์ที่ใช้งานเกิดการชำรุด เช่น ฉนวนของสายไฟของเครื่องใช้ไฟฟ้าเกิดการฉีกขาด รวมไปถึงการเครื่องใช้ไฟฟ้าไม่ได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ซึ่งอาจทำให้เกิดไฟรั่วได้
เขียนโดย คุณสุรชัย เทพบรรทม
ตำแหน่ง ASEAN Safety Manager
หน่วยงาน Ford Services Thailand Co Ltd.
ตำแหน่ง ASEAN Safety Manager
หน่วยงาน Ford Services Thailand Co Ltd.
o หาที่ที่ปลอดภัยเพื่อนั่งหรือยืนใช้อุปกรณ์สื่อสาร เช่น ไม่อยู่บนถนน ทางเดิน หรือในพื้นที่เครื่องจักรกำลังทำงาน
o ห้ามใช้โทรศัพท์มือถือหรืออุปกรณ์สื่อสารพกพาอื่นๆในที่ที่มียานพาหนะเคลื่อนที่หรือขณะเดินอยู่ในโรงงาน หรือยืนบนบันได
o ห้ามใช้อุปกรณ์สื่อสารส่วนบุคคลในสภาพแวดล้อมที่เป็นอันตราย (เช่นพื้นจัดเก็บสารเคมี, ภายในรั้วเครื่องจักร)
เขียนโดย คุณสิริโสภา ตันเฮง
ศิษย์เก่า ภาควิชาสุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัย
ศิษย์เก่า ภาควิชาสุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัย
มหาวิทยาลัยบูรพา
สารเคมีตามกฎกระทรวงฯ หมายถึง ธาตุ สารประกอบ หรือสารผสม ซึ่งมีสถานะเป็นของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของเส้นใย ฝุ่น ละออง ไอ หรือฟูม สารเคมีเหล่านี้อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้ประกอบอาชีพที่ปฏิบัติงานกับสารเคมีจากการรับสัมผัสผ่านช่องทางต่างๆของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น ปาก จมูก ดวงตา และผิวหนัง มีทั้งในรูปแบบอาการเฉียบพลันและเรื้อรัง เช่น ก่อให้เกิดอาการระคายเคืองต่อดวงตา ผิวหนังที่ถูกสัมผัสกับสารเคมี สายตาพร่ามัว หรือการเป็นพิษต่ออวัยวะภายในร่างกาย นอกจากจะเกิดอันตรายต่อร่างกายแล้วยังก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินได้อีกด้วย เช่น การระเบิดของสารเคมี การรั่วไหล หรือการเกิดอัคคีภัย เป็นต้น
เขียนโดย ว่าที่ร้อยตรีมนัสชัย เนื่องนิกร
ตำแหน่ง นักปฏิบัติงานเทคนิค ระดับ 5 (จป.วิชาชีพ)
หน่วยงาน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดชลบุรี
ตำแหน่ง นักปฏิบัติงานเทคนิค ระดับ 5 (จป.วิชาชีพ)
หน่วยงาน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดชลบุรี
การปฏิบัติงานด้านระบบไฟฟ้าของ กฟภ. ไม่ว่างานก่อสร้าง/ปรับปรุงระบบจำหน่าย ในกรณีเมื่อพิจารณาแล้วจำเป็นต้องทำงานแบบไม่มีไฟในระบบจำหน่าย (ดับไฟทำงาน) มาตรการป้องกันอันตรายที่ผู้ปฏิบัติงานต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัดทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยในการทำงานอย่างสูงสุด ต้องดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
เขียนโดย คุณกนกวรรณ แซ่อึ้ง
ภาควิชาสุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัย มหาวิทยาลัยบูรพา
อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล หรือ Personal Protective Equipment (PPE) หมายถึง อุปกรณ์สำหรับผู้ปฏิบัติงานสวมใส่ขณะปฏิบัติงานเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ เนื่องจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน และการกระทำที่ไม่ปลอดภัย การใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เป็นวิธีหนึ่งในการป้องกันอันตรายจากการทำงาน ซึ่งอุปกรณ์นี้สามารถแบ่งออกได้เป็น
เขียนโดย คุณภัชฎาธาร ทองประศรี
ภาควิชาสุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัย
มหาวิทยาลัยบูรพา
ภาควิชาสุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัย
มหาวิทยาลัยบูรพา
การปฏิบัติงานในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงดังเป็นเวลานาน อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบประสาทการได้ยิน ทำให้เกิดการบกพร่องทางการได้ยิน หรือสูญเสียการได้ยิน ซึ่งมาตรฐานความดังของเสียงตามกฎกระทรวงฯ อยู่ที่ 85 เดซิเบล เป็นเวลา 8 ชั่วโมง อันตรายจากการสัมผัสเสียงดังเป็นเวลานาน แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
เขียนโดย คุณรุ่งรัตน์ ช่างหลอม
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ
หน่วยงาน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอลำลูกกา
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ
หน่วยงาน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอลำลูกกา
ในหลายครั้งที่พบเห็นเหตุการณ์อุบัติเหตุบนท้องถนนที่เกิดขึ้นกับรถบรรทุกที่ขนส่งวัตถุอันตราย ในกรณีผู้ปฏิบัติงานขับรถและผู้ปฏิบัติงานประจำรถทราบถึงวิธีการตอบโต้เหตุการณ์ฉุกเฉินที่เกิดขึ้นระหว่างการขนส่งวัตถุอันตราย จะเป็นการช่วยลดการสูญเสียทั้งชีวิต ทรัพย์สิน ผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมต่อชุมชน และลดความรุนแรงของอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นตามมา ซึ่งผู้ปฏิบัติงานสามารถปฏิบัติตามแนวทางการปฏิบัติงานที่ปลอดภัยเมื่อต้องเผชิญกับเหตุการณ์อุบัติเหตุหรือเหตุการณ์ฉุกเฉิน โดยต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของตนเองเป็นหลักสำคัญ
เขียนโดย คุณยืนยง เพียรสวัสดิ์
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ
บริษัท บริดจสโตน (ประเทศไทย)
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ
บริษัท บริดจสโตน (ประเทศไทย)
หลายครั้งที่เหล่าเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับวิชาชีพ (จป.ว.) ต้องเจอในชีวิตการทำงานก็คือการผลิตสินค้าของโรงงานอุตสาหกรรมที่บางครั้งก็สวนทางกับงานด้านความปลอดภัยฯ ปฏิเสธไม่ได้ว่าพนักงาน หัวหน้างาน ผู้บริหารหรือเจ้าของกิจการ มักมองว่างานด้านความปลอดภัยฯ เป็นสิ่งที่ทำให้การผลิตสินค้าเกิดความล้าช้า กำลังการผลิตน้อยลง เพิ่มขั้นตอนการทำงานที่ยุ่งยากให้กับพนักงาน เพิ่มภาระค่าใช้จ่ายให้กับองค์กร วันนี้ผมจึงอยากมาพูดถึงการจัดการงานด้านความปลอดภัยฯที่สามารถเพิ่มผลผลิตให้กับองค์กรและเกิดความปลอดภัยสูงสุดในเวลาเดียวกัน
เขียนโดย คุณสุรชัย เทพบรรทม
ตำแหน่ง ASEAN Safety Manager
หน่วยงาน Ford Services Thailand Co., Ltd.
ตำแหน่ง ASEAN Safety Manager
หน่วยงาน Ford Services Thailand Co., Ltd.
o ทำไมการป้องกันการลื่น สะดุด และล้มจึงมีความสำคัญ?
เพราะจากข้อมูล 15% ของการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุมาจาก การลื่น สะดุด ซึ่งเป็นอันดับสองรองจากยานยนต์เท่านั้น
o จะป้องกันการหกล้ม การลื่นล้มได้อย่างไร?
ทั้งการลื่นและการสะดุดเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงบางอย่างของสภาพแวดล้อม โดยไม่ได้ตั้งใจหรือไม่คาดคิดในระหว่างผิวสัมผัสของเท้ากับพื้นหรือพื้นผิวการเดิน นี่แสดงให้เห็นว่าการดูแลทำความสะอาดที่ดี คุณภาพของพื้นผิวการเดิน (พื้น) การเลือกรองเท้าที่เหมาะสม และจังหวะการเดินที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันอุบัติเหตุจากการหกล้ม
เขียนโดย คุณชนิกานต์ ปัญญาพืชน์
ตำแหน่ง จป.วิชาชีพ - หัวหน้าแผนกความปลอดภัยฯ
บริษัท เอ็น เอช เค สปริง (ประเทศไทย) จำกัด
ตำแหน่ง จป.วิชาชีพ - หัวหน้าแผนกความปลอดภัยฯ
บริษัท เอ็น เอช เค สปริง (ประเทศไทย) จำกัด
ไหว้สา!! เยาวรุ่นเหล่าจป.ร่วมวิชาชีพทุกคน คงจะปวดหัวกับสถานการณ์โรคระบาดระดับโลกอยู่ในขณะนี้ อารมณ์ประมาณว่า “ทุกวันนี้แทบจะไม่ใช่ จป. แล้ว แทบจะเป็น อสม.คนนึงแล้ว” แต่ก็นั่นแหละค่ะ อาชีพ จป.เป็นอาชีพที่ช่วยเหลือพนักงาน รวมไปถึงครอบครัวพนักงานให้มีความปลอดภัยในทุกๆด้าน เพราะฉะนั้นไม่แปลกค่ะที่เหล่า จป. จะต้องทำงานเกี่ยวโควิด ไม่ว่าจะทางตรง หรือทางอ้อมก็ตาม (ให้กำลังใจซึ่งกันและกันค่ะ)
เขียนโดย คุณศุภพิชญ์ วาโน
ตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ
บริษัท มายด์ แอนด์ เซฟ แมนเนจเม้นท์ แอนด์ คอนซัลแตนท์ จำกัด
ตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ
บริษัท มายด์ แอนด์ เซฟ แมนเนจเม้นท์ แอนด์ คอนซัลแตนท์ จำกัด
เพื่อนพ้องชาว จป. เคยเจอกับปัญหา “พูดแล้วไม่มีคนฟัง หรือ ฟังแต่ไม่ทำหรือเปล่า?” ผู้เขียนเชื่อว่า เกินกว่า 50% ของท่านที่อ่านบทความเคยเจอปัญหานี้อย่างแน่นอน แล้วเราจะทำอย่างไรดี?
หัวใจสำคัญของการสื่อสารไม่ว่าจะเป็นแบบที่คุณใช้คำพูดหรือไม่ใช้คำพูดก็ตาม คือ คุณต้องการให้ผู้ฟัง หรือคนรับสาสน์นั้น say YES! กล่าวคือ การตอบ “ตกลง หรือ เห็นด้วย” ในสิ่งที่คุณสื่อสารออกไปจริงหรือไม่? ดังนั้นถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่สื่อสารแล้ว ไม่ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ คุณมีปฏิกิริยากับเรื่องนี้อย่างไร?
เขียนโดย คุณพรชนก อยู่ดี
ตำแหน่ง Safety Staff (จป.วิชาชีพ)
บริษัท แอลไพน์ เทคโนโลยี แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จํากัด
o Y (Yoshi) = การคาดการณ์
o T (Training) = การอบรม
ตำแหน่ง Safety Staff (จป.วิชาชีพ)
บริษัท แอลไพน์ เทคโนโลยี แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จํากัด
ความหมายของ Kiken Yoshi Training (KYT)
o K (Kiken) = อันตรายo Y (Yoshi) = การคาดการณ์
o T (Training) = การอบรม
Kiken Yoshi Training (KYT) หมายถึง วิธีการวิเคราะห์หรือคาดการณ์ว่าจะมีอันตรายใดๆ แฝงอยู่ในงานที่ต้องปฏิบัติ และหาวิธีการควบคุมป้องกันอันตรายนั้นๆ
เขียนโดย คุณสุรชัย เทพบรรทม
ตำแหน่ง ASEAN Safety Manager
หน่วยงาน Ford Services Thailand Co., Ltd.
ตำแหน่ง ASEAN Safety Manager
หน่วยงาน Ford Services Thailand Co., Ltd.
จากข้อมูลอุบัติเหตุการของแรงงานในการก่อสร้างตกจากที่สูงแสดงให้เห็นว่า
o มากกว่า 50% ของการตกมาจากความสูงน้อยกว่า 3 เมตร o การตกประมาณ 70% เกิดมาจากบันไดและหลังคา
o มูลค่าความเสียหาย หรือค่าใช้จ่ายการตกจากที่สูงในการก่อสร้าง เป็นต้นทุนทางการเงินและความสูญเสียต่อมนุษย์ที่สูงเกินไป
เขียนโดย ดร.นิรุทธิ์ วัฒนะแสง
อาจารย์พิเศษ, วิทยากรและที่ปรึกษาด้านความปลอดภัย
อาจารย์พิเศษ, วิทยากรและที่ปรึกษาด้านความปลอดภัย
“Human Error คือ พฤติกรรมที่ผิดพลาดของมนุษย์เป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดอุบัติเหตุ” เพราะเหตุใดถึงได้กล่าวเช่นนี้ หากพิจารณาในช่วงเวลาหลายทศวรรษที่ผ่านมา มีการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับอุบัติเหตุและปัจจัยที่เป็นสาหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ พบว่าปัจจัยด้านมนุษย์ (Human factor) เป็นปัจจัยที่สำคัญหรืออาจเป็นปัจจัยหลักของการเกิดอุบัติเหตุ ปัจจัยด้านมนุษย์ประกอบไปด้วยปัจจัยหลากหลายด้าน เช่น Psychology, Engineering, Human Physiology, Ergonomics เป็นต้น
เขียนโดย คุณสรวงสุดา บุญฤทธิ์
ตำแหน่ง Senior Safety Officer
บริษัท สุราษฎร์ธานี เบเวอเรช จำกัด
ตำแหน่ง Senior Safety Officer
บริษัท สุราษฎร์ธานี เบเวอเรช จำกัด
การบริหารจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงานจะประสบความสำเร็จและเกิดเป็นวัฒนธรรมความปลอดภัยอย่างยั่งยืนนั้นจำเป็นต้องริเริ่มจาก “จิตสำนึกด้านความปลอดภัย” ของทุกคนในองค์กร แต่เมื่อพูดถึงคำว่าจิตสำนึกแล้วนั้นแต่ละคนย่อมมีได้ไม่เท่ากัน ดังนั้น การสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยจึงเป็นสิ่งที่ต้องสร้างและเมื่อสร้างขึ้นแล้วต้องทำอย่างไรเพื่อให้เกิดความยั่งยืน เรามาเรียนรู้ไปด้วยกันจากบทความสั้นๆนี้